Robowealth Work EP.5 วันนี้จะมาชวนคุยกันในเรื่องแนวความคิด ikigai (อิคิไก) ของชาวญี่ปุ่น ที่อาจจะมาช่วยคนทำงานอย่างเรา ๆ ในภาวะหมดไฟได้
ก่อนอื่นขอเริ่มที่ ikigai (อิคิไก) คืออะไร
Ikigai เป็นแนวคิดที่คนญี่ปุ่นนำมาช่วยให้เราเข้าใจการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น
เป็นการรวมคำศัพท์ญี่ปุ่น 2 คำ Iki = มีชีวิต , gai = คุณค่า
สามารถแปลตรงตัวได้ว่า “ชีวิตที่มีคุณค่า”
บางครั้ง ชาวญี่ปุ่นอาจเรียกว่า “ภารกิจชีวิต”
หรือเรามักจะใช้กันในบริบทที่ว่า “ความหมายของการมีชีวิตอยู่”
แล้วเราจะหา Ikigai ของเราเจอได้ยังไง ?
งั้นเรามาเริ่มกันที่ คำถาม 4 ข้อใหญ่ ๆ ของแนวคิดอิคิไกก่อน ว่ามีอะไรบ้า
- สิ่งที่เรารักคืออะไร
- สิ่งที่เราถนัดและทำได้ดีคืออะไร
- สิ่งที่เราทำแล้วสร้างรายได้คืออะไร
- สิ่งที่ดีต่อผู้คนหรือมีคนต้องการคืออะไร
บางคนหาอิคิไกเจอได้ไม่ยาก ทั้งได้ทำงานที่รัก ทำได้ดี สร้างรายได้ และมีคนต้องการผลงานนั้น
แต่บางคนก็ต้องใช้เวลา
แล้วแนวคิดอิคิไกเกี่ยวอะไรกับการทำงานล่ะ??
สิ่งที่น่าสนใจของ ikigai กับการทำงานคือ
ถ้าหากเราไม่ได้มี ikigai มาตั้งแต่แรก เราสามารถสร้างขึ้นทีหลังได้
ยกตัวอย่างสำหรับคนที่อยากหาอาชีพด้วยแนวคิดอิคิไกให้เห็นภาพแบบง่าย ๆ
เช่น ชอบและรักทำอาหาร และก็ทำได้ดีด้วย สนุกกับการคิดค้นสูตรใหม่ ใคร ๆ ก็ชมว่าอร่อย และเมื่อลองทำออกมาหารายได้ ก็ทำรายได้ได้ดี และก็มีคนต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ
เขาคนนี้จะรู้สึกมีความสุขและรู้สึกอยากมีชีวิตต่อไปในทุกวัน ๆ เพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ
การเติมคำตอบทั้ง 4 คำถามนี้ลงไป
จะช่วยทำให้เราพอจะเห็นว่าตอนนี้ตัวเราเองว่ากำลังอยู่ในจุดไหน
แล้วถ้าตอนนี้ไม่มี ikigai เลยล่ะ
แล้วถ้าหากช่วงนี้ เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า “เหตุผลของการมีชีวิตอยู่ของฉันคืออะไร? ”
เพราะสถานการณ์ COVID-19 ของประเทศเราตอนนี้
บางคนอาจทำงานพร้อมภาวะที่หมด Passion หรือ Burnout ไปเลย
บางคน Burnout ทั้งการทำงานและ Burnout ในการมีชีวิตไปพร้อม ๆ กัน
หลายคนรู้สึกมองไม่เห็นเป้าหมาย มองไปไม่เจอความสุข และไม่สามารถหาเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ได้
ให้ลองหยิบหลักการของ Ikigai มาใช้ดู
* ครั้งนึงเคยมีจิตบำบัดที่หลักการคล้าย ikigai ในปัจจุบัน การบำบัดนี้มีชื่อว่า Logotheraphy “จิตบำบัดแนวแสวงหาความหมายของชีวิต” ของฟรังเคิล และต่อมาก็มี “การบำบัดแบบโมริตะ Morita Theraphy ของจิตแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่คิดค้นการบำบัดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมีเป้าหมายสำคัญในชีวิต ปรากฏว่าการบำบัดนี้ใช้ได้ผลกับโรคประสาท โรคย้ำคิดย้ำทำ และอาการเครียดหลังประสบเหตุสะเทือนใจได้เป็นอย่างดี
แล้วจึงเกิดแนวคิด ikigai ต่อมาในภายหลัง
แต่เราชาว Robowealth เมื่ออยู่ในภาวะหมดไฟทั้งงานและชีวิต ยังไม่ต้องพึ่งจิตแพทย์หรือนักบำบัด เรายังสามารถพึ่งตัวเองได้แต่ต้องทำ “ภารกิจค้นหาอิคิไกของตัวเองให้เจอ” ซึ่งจะกลายเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนชีวิตอีกครั้ง
ikigai จะช่วยทำให้เรามีเป้าหมายในการใช้ชีวิต
ikigai จะช่วยให้เรามีเหตุผลที่เราอยากตื่นขึ้นมาทำงานและใช้ชีวิตในแต่ละวัน
ikigai จะช่วยในภาวะหมด Passion หรือ Burnout ได้เป็นอย่างดี
ที่สำคัญ แนวคิดอิคิไกสามารถสร้างได้กับทุกตำแหน่งงาน ตั้งแต่เจ้าของบริษัท ผู้บริหาร รวมไปถึงหัวหน้าและพนักงาน ถ้าคุณเป็นหัวหน้าที่มี ikigai ในการทำงานอย่างเต็มเปี่ยม แล้วก็อยากให้พนักงานของคุณมีอิคิไกเหมือนกันล่ะก็
ลองสังเกตการทำงานของพนักงาน ถ้ามีจุดเล็ก ๆ ที่เขาทำได้ดี ให้เขาได้รับคำชม หรือให้เขาได้สัมผัสคำขอบคุณ ในเวลาที่พนักงานเต็มที่กับการทำงานในโปรเจคนั้น ๆ (แม้จะเป็นหน้าที่เขาอยู่แล้วก็ตาม)
หรืออย่างเช่น การประชุมในทุก ๆ เข้า โดยปกติจะคุยเรื่องปัญหาที่เกิดขึ้น ก็เพียงแค่เพิ่มการแชร์เรื่องดี ๆ ที่เกิดขึ้นเข้าไปด้วย
และสุดท้ายเลยคือให้อิสระกับเขาให้เขาได้คิด หรือบอกปัญหาที่เกิดขึ้น ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็ตาม
สิ่งนี้แหละจะทำให้พนักงานของคุณรู้สึกว่าเขาเติบโตและเก่งขึ้น และสามารถสร้างอิคิไกในพนักงานของคุณได้
ก่อนจะจบการพูดคุยในหัวข้อนี้ ก็ขอให้ชาว Robowealth ทุกคนได้ค้นหา ikigai ของตัวเองให้เจอ ให้เราอยากตื่นขึ้นมาทำงานในทุก ๆ เช้าอย่างมีความสุข
แล้วมาพูดกับตัวเองกันว่า
“นี่สินะ ความหมายของการมีชีวิตอยู่”
Robowealth องค์กรที่สนับสนุนให้พนักงานทุกคนทำงานแบบมีอิคิไก
————————————————————————-
* อ้างอิงเนื้อหา ikigai จากหนังสือ ikigai วิถีชีวิตเรียบง่ายสไตล์ญี่ปุ่น
ของสำนักพิมพ์เนชันบุ๊คส์
ผู้เขียน Hector Garcia และ Francesc Miralles
แปลโดย เพ็ญพิสาข์ ศรีวรนารถ